Page 180 - หนังสือรายงานกิจการประจำปี 2558
P. 180

ÃÒ§ҹ»ÃШӻ‚ òõõø                                                                                                                                                                       สหกรณออมทรัพยกรมชลประทาน จำกัด




           พิจารณาโดยภาพรวมแล้ว สหกรณ์ไทยมีทั้งโอกาส (Opportunity) และ ภัยคุกคาม(Threats) โดยการ
           เสริมจุดแข็ง(Strength) ที่มีอยู่และปรับปรุง แก้ไขจุดอ่อน (Weakness) ให้ลดลง



           5. แนวทางการปรับตัวและการใช้ประโยชน์ของสหกรณ์ออมทรัพย์จากประชาคมอาเซียน

                  การรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจ หรือ AEC หากมองในมุมบวก จะเปิดโอกาสให้กับสหกรณ์ออมทรัพย์
           และสหกรณ์ไทยทั้งทางด้าน การค้า การลงทุน บริการ แรงงาน และ การเข้าถึงแหล่งเงินทุน ภายในภูมิภาค

           อาเซียน ให้กว้างขวางและเสรีมากขึ้นกว่าเดิม เพราะตลาดเปิดกว้างมากขึ้น หากเตรียมความพร้อมแต่เนิ่น ๆ
           แสวงหาโอกาสและแนวทางให้เป็นประโยชน์

                  ในทางกลับกัน หากผู้ที่เกี่ยวข้อง ไม่ตระหนักว่า AEC จะมีผลกระทบต่อสหกรณ์ออมทรัพย์และ
           ขบวนการสหกรณ์อย่างไร เพียงใด หรือคิดว่าธุระไม่ใช่ หรือคิดว่ายังอีกหลายปี แทนที่จะเป็นโอกาสมันก็อาจ

           จะกลายเป็นภัยคุกคามหรือเป็นวิกฤตของสหกรณ์ไทยก็เป็นได้
                  สหกรณ์ออมทรัพย์และสหกรณ์ไทยควรเตรียมหาแนวทางการ “ตั้งรับ” และเตรียมพร้อมที่จะใช้

           กลยุทธ์เชิง “รุก” ไปพร้อม ๆ กัน ดังแนวทางต่อไปนี้
           5.1 การเตรียมตัวในเชิง “ตั้งรับ”

                  1. ปรับปรุง โครงสร้าง กฎหมาย นโยบายรัฐ หน่วยงานส่งเสริม สันนิบาตสหกรณ์แห่งประเทศไทย
           ชุมนุมสหกรณ์ระดับประเทศ สหกรณ์ กลุ่มสหกรณ์ ที่เป็นอุปสรรค์หรือเป็นข้อจำากัดต่อการแข่งขันในเชิงธุรกิจ

           เพื่อให้สหกรณ์มีโอกาสเข้าถึงตลาดอาเซียนเพิ่มขึ้น
                  2. เปลี่ยนแปลงการบริหารการจัดการเป็นมืออาชีพ เชิงกลยุทธ์ ให้ได้มาตรฐานสากล

                  3. ลดต้นทุนการผลิต การนำาเข้าสินค้าและวัตถุดิบจากประชาคมอาเซียนในราคาที่ตำ่าลงแต่มีคุณภาพ
           เพิ่มขึ้น อีกทั้งลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำาเป็นลง

                  4. เสริมทักษะ ความรู้ ด้านภาษาอังกฤษให้กับบุคลากรสหกรณ์ให้มากขึ้น
                  5. ส่งเสริมและพัฒนาระบบสหกรณ์ให้เข้มแข็งเพื่อให้เป็นกลไกลพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม

           และความมั่นคงของประเทศ
           5.2 การเตรียมตัวเชิง “รุก”

                  1. พัฒนา เพิ่มประสิทธิภาพรูปแบบและคุณภาพ(Quality) ของสินค้าและบริการให้ได้มาตรฐานของ
           ตลาด กำาหนดตัวชี้วัด ยกระดับมาตรฐานสินค้าและบริการของสหกรณ์ให้สูงขึ้น

                  2. สร้างเครือข่ายสหกรณ์เพื่อแลกเปลี่ยน เรียนรู้ ความร่วมมือ ความช่วยเหลือ ทั้งภายในประเทศ
           และสมาชิกอาเซียน AEC ทั้งด้านเงินทุน ทรัพยากร คน วิชาการข้อมูล สารสนเทศ เทคโนโลยี และนวัตกรรม

                  3. ยกระดับสหกรณ์ให้เป็นศูนย์กลางของชุมชน ทั้งในชนบท ตำาบล หมู่บ้าน และในเมืองให้หันมาใช้
           ระบบสหกรณ์ในการพัฒนาคุณภาพชีวิต


                                                        182
   175   176   177   178   179   180   181   182   183   184   185